โรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
อาการของไซนัสอักเสบ จะคล้ายกับอาการไข้หวัด คือ จะมีน้ำมูก คัดจมูก แต่สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือไซนัสอักเสบจะมีน้ำมูกไหลยาวนานมากกว่า 10 วัน และลักษณะของน้ำมูกนั้นจะมีสีเขียวข้น นอกจากนั้นยังมีเสมหะที่ไหลลงคอจึงทำให้เกิดอาการไอด้วย และอีกอาการที่โดดเด่นของไซนัสที่แตกต่างจากไข้หวัด คือ จะมีอาการปวดรอบๆ จมูก ปวดกระบอกเบ้าตา ไปจนถึงปวดแก้มด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจปวดกระดูกขากรรไกรบน หรือปวดฟันบนด้วย
สาเหตุของการเกิดโรคไซนัสอักเสบ เกิดจากการที่เยื่อบุโพรงจมูกได้รับการระคายเคือง
– ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุที่พบได้บ่อยๆ อย่างการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การรับเชื้อโรคจากอากาศ หรือได้รับจากการลงไปเล่นน้ำในสระว่ายน้ำที่ไม่ใส่คลอรีนหรือไม่สะอาด
– เกิดจากความผิดปกติของช่องจมูก เช่น ผนังกั้นระหว่างช่องจมูกคด ทำให้ช่องจมูกแคบกว่าปกติเกิดอาการแน่นคัดจมูกและขัดขวางการไหลเวียนตามปกติของน้ำมูกที่จะไปทางด้านหลังทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น
– คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่มีอาการหวัด คัดจมูกบ่อยๆ เยื่อบุจมูกจะบวม และรูเปิดไซนัสจะตีบตันทำให้เกิดการอักเสบในไซนัสได้
– คนที่สูบบุหรี่หรืออยู่ในมลภาวะทางอากาศที่เป็นพิษ ก็เป็นอีก 1 สาเหตุที่เยื่อจมูกจะระคายเคือง บวม และไซนัสอักเสบได้
การรักษาเบื้องต้น
– การให้ยาปฏิชีวนะตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งโดยส่วนมาก ควรให้อย่างน้อย 10-14 วันและให้ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะด้วย
– ให้ยาต้านฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้
– ให้ยาลดบวมเพื่อบรรเทาอาการแน่นคัดจมูก
– การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ก็เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายและช่วยให้อาการทางไซนัสดีขึ้น เพราะช่วยลดความหนืดของน้ำมูก และช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ชนิดมีขนอ่อนไว้พัดโบกในโพรงจมูกและไซนัส
– หากเป็นเรื้อรัง และมีอาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้การผ่าตัดเป็นทางเลือกในการรักษา
การรักษาโรคไซนัสด้วยสมุนไพร
1. ฟ้าทลายโจร โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาสับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที แล้วนำน้ำมาดื่ม ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง
2. หัวหอม โดยนำหอมหัวแดงมาประมาณ 10 หัว นำมาปอกเปลือกออก แล้วทุบพอแตก หลังจากนั้นนำมาต้มกับน้ำสะอาดในหม้อขนาดไม่ใหญ่มาก ต้มจนเดือดให้มีไอลอยขึ้นมา จึงยกลงแล้วก้มหน้าเพื่อสูดดมไอน้ำ จะช่วยให้จมูกโล่ง หายใจสะดวกขึ้น แต่ระวังอาจแสบตาได้
แสดงความคิดเห็น